ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา”
(Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว
(นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวง
อาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย
กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม
ดังภาพที่ 1
แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิ
กิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม
ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์
การกำเนิดระบบสุริยะ
วัสดุชั้นรอบนอกของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่า
ยังโคจรไปตามโมเมนตัมที่มีอยู่เดิม รอบดวงอาทิตย์เป็นชั้นๆ
มวลสารของแต่ละชั้นพยายามรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง
ด้วยเหตุนี้ดาวเคราะห์จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นรูปทรงกลม
เนื่องจากมวลสารพุ่งใส่กันจากทุกทิศทาง
อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงทำให้วัสดุที่อยู่รอบๆ พยายามพุ่งเข้าหาดาวเคราะห์
ถ้าทิศทางของการเคลื่อนที่มีมุมลึกพอ
ก็จะพุ่งชนดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมวลรวมกัน
แต่ถ้ามุมของการพุ่งชนตื้นเกินไป ก็จะทำให้แฉลบเข้าสู่วงโคจร
และเกิดการรวมตัวต่างหากกลายเป็นดวงจันทร์บริวาร ดังเราจะเห็นได้ว่า
ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี
จะมีดวงจันทร์บริวารหลายดวงและมีวงโคจรหลายชั้น
เนื่องจากมีมวลสารมากและแรงโน้มถ่วงมหาศาล
ต่างกับดาวพุธซึ่งมีขนาดเล็กมีแรงโน้มถ่วงน้อย ไม่มีดวงจันทร์บริวารเลย
วัสดุที่อยู่โดยรอบจะพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ เพราะ มีแรงโน้มถ่วงมากกว่าเยอะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น