รวมช๊อตเด็ดตลอด 5 ปีที่ผ่านมากับการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO)

       ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ได้มากกว่า 2,000 ฉบับ และจากวีดีโอจะสังเกตเห็นว่าดวงอาทิตย์จะมีสีสรรค์ที่หลากหลายเป็นเช่นนี้เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์เอสดีโอนั้นมีกล้องถ่ายภาพที่สามารถเก็บข้อมูลของดวงอาทิตย์มาในหลายช่วงความยาวคลื่น ภาพดวงอาทิตย์แต่ละสีจะบ่งบอกถึงค่าความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน นักดาราศาสตร์มีความจำเป็นจะต้องศึกษาดวงอาทิตย์ในหลายช่วงความยาวคลื่น เพราะชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในแต่ละชั้นนั้นจะปลดปล่อยพลังงานในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ดังภาพ

                      ภาพโดย : NASA/SDO/Goddard Space Flight Center
        ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่ช่วงความยาวคลื่น 4500 อังสตรอม (ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible light)) จะแสดงรายละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ในชั้นบรรยากาศชั้นแรกของดวงอาทิตย์ที่มีชื่อว่า โฟโตสเฟียร์ (Photosphere)  ในช่วงความยาวคลื่นนี้เราจะสามารถเห็นรายละเอียดและปริมาณจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot)

เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ

สำนักบริกาวิชาการฯ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1687-5-years-sdo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น