ดาวเคราะห์โบราณ : แสงริบหรี่ของแหล่งอาระธรรมนอกโลก

ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
นักวิทยาศาสตร์แบ่งการมีอยู่ของชีวิตออกเป็นหลายระดับ โดยเริ่มจาก  
1.มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น  
2.สิ่งมีชีวิตนั้นวิวัฒนาการจนมีร่างกายที่ซับซ้อนพอจะเกิดสติปัญญา  
3.สิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญานั้นสามารถสร้างอารยะธรรมและเทคโนโลยีได้

 สาเหตุที่แบ่งออกเป็นสามช่วงก็เพราะทั้งสามช่วงนั้นมีความแตกต่างกันและส่งผลต่อวิธีคิดในการค้นหา
กล่าวโดยสรุปคืออารยะธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากที่สุดเพราะอย่างน้อยๆสิ่งมีชีวิตต้องวิวัฒนาการจนเกิดสติปัญญาก่อน แล้วจึงวิวัฒนาการต่อเนื่องจนสร้างอารยะธรรมได้
        ล่าสุดในเดือนมกราคม 2558 
        นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 5 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ โดยดาวฤกษ์ดังกล่าวมีชื่อว่า HIP 94931 ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวพิณ
ขนาดของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

หากมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาบนดาวเคราะห์เหล่านั้น ก็เป็นไปได้ที่พวกมันจะวิวัฒนาการจนเกิดอารยะธรรมแล้ว 
นี่เป็นหลักฐานที่ส่องให้เห็นถึงความเป็นไปได้อันริบหรี่ที่ในอนาคต
เราอาจได้พบเพื่อนร่วมเอกภพของเราก็เป็นได้!

เรียบเรียงโดย : อาจวรงค์ จันทมาศ
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1686-hip-94931

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น