นาซ่าพบการลุกจ้าระดับ X100,000 บนดาวฤกษ์ DG CVn

       องค์การนาซ่า (NASA) พบการลุกจ้าอย่างรุนแรง (superflare) บนดาวฤกษ์ที่เป็นสมาชิกหนึ่งในระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด (close binary system) ที่เรารู้จักกันในชื่อ DG Canum Venaticorum (DG CVn) โดยเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดง (red dwarf star) ดาวคู่ทั้งสองดวง มีมวลและขนาดเพียง 1 ใน 3 ของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกเราในระยะทางประมาณ 60 ปีแสง ตรวจพบได้โดยดาวเทียม Swift ขององค์การนาซ่า
ภาพที่ 1 แสดงภาพการลุกจ้าอย่างรุนแรง (superflare) บนดาว DG CVn
Credit: NASA's Goddard Space Flight Center/S. Wiessinger
   การลุกจ้าอย่างรุนแรงนี้มีมากถึง 10,000 ครั้ง และจากจำนวนการลุกจ้าทั้งหมดมี 12 ครั้ง ได้ปลดปล่อยออกจากบริเวณใจกลางของดาวฤกษ์ และมีอุณหภูมิขณะการลุกจ้าถึง 200 ล้านองศาเซลเซียส 
        จากข้อมูลที่ได้โดยดาวเทียม SWift นักดาราศาสตร์สามารถวัดการลุกจ้าอย่างรุนแรง (“superflare") เทียบได้เท่ากับระยะทางเฉลี่ยของวงโคจรของโลกเลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย นายบุญญฤทธิ์ ชุนหกิจ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

นาซาเผยภาพดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จากมุมมองของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO)

     จากมุมมองของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ แสดงให้เห็นขอบของดวงจันทร์ที่คมชัดมาก รวมถึงสามารถเห็นภูเขาบนดวงจันทร์ได้ เป็นเช่นนี้้เนื่องจากดวงจันทร์นั้นมีชั้นบรรยากาศที่บางมากๆ แสงจากดวงอาทิตย์ที่เดินทางไปตกกระทบพื้นผิวดวงจันทร์นั้นเกิดการหักเหน้อยมากๆ รวมถึงตำแหน่งการสังเกตการณ์ในที่นี้เป็นมุมมองจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ ซึ่งโคจรอยู่เหนือพื้นผิวโลกประมาณ 35,880 กิโลเมตร แตกต่างจากการสังเกตการณ์บนพื้นโลกที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบจากชั้นบรรยากาศของโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ภาพดวงจันทร์ที่ได้มีความคมชัดน้อยกว่า


 ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 ในช่วงความยาวคลื่น 171 อังสตรอม ดังภาพ
 ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 ในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ดังภาพ
 ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2557 ในช่วงความยาวคลื่น 304 อังสตรอม (ขวา) 171 อังสตรอม (กลาง) และ ภาพที่ได้จากการรวมภาพทั้งสองความยาวคลื่นด้วยกัน (ซ้าย)
ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 ในช่วงความยาวคลื่น 304 อังสตรอม
เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ภาพดวงอาทิตย์จากกล้องโทรทรรศน์นิวสตาร์

     กล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ (NUSTAR : Nuclear Spectroscopic Telescope Array) ขององค์การนาซา ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในช่วงความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์  และช่วงอัลตราไวโอเลตที่ได้จากการบันทึกภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ (NUSTAR : Nuclear Spectroscopic Telescope Array)เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO: Solar Dynamic Observatory) ภาพจาก: NASA/JPL-Caltech/GSFC

     จากภาพจะสังเกตุเห็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์มีลักษณะสีสันที่สวยงาม โดยบริเวณที่เป็นสีแดงอิฐนั้นคือชุดภาพถ่ายที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ ถูกบันทึกภาพในช่วงความยาวคลื่นอัลตราไวโอเลต (171 อังสตรอม) แสดงให้เห็นองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ที่มีอุณภูมิต่ำกว่า 1,000,000 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณที่เป็นสีเขียวและสีฟ้าเป็นข้อมูลภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ที่ถูกบันทึกในช่วงรังสีเอ็กซ์ บริเวณที่เป็นสีเขียวนั้นจะมีพลังงานอยู่ในช่วง 2 - 3 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ส่วนบริเวณสีฟ้าจะมีพลังงานอยู่ในช่วง 3 - 5 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งเป็นรังสีเอ็กซ์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากบริเวณบ่วงโคโรนา (Coronal loops) ที่มีอุณหภูมิสูงประมาณ 3,000,000 องศาเซลเซียส

เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดาวเคราะห์โบราณ : แสงริบหรี่ของแหล่งอาระธรรมนอกโลก

ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
นักวิทยาศาสตร์แบ่งการมีอยู่ของชีวิตออกเป็นหลายระดับ โดยเริ่มจาก  
1.มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น  
2.สิ่งมีชีวิตนั้นวิวัฒนาการจนมีร่างกายที่ซับซ้อนพอจะเกิดสติปัญญา  
3.สิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญานั้นสามารถสร้างอารยะธรรมและเทคโนโลยีได้

 สาเหตุที่แบ่งออกเป็นสามช่วงก็เพราะทั้งสามช่วงนั้นมีความแตกต่างกันและส่งผลต่อวิธีคิดในการค้นหา
กล่าวโดยสรุปคืออารยะธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากที่สุดเพราะอย่างน้อยๆสิ่งมีชีวิตต้องวิวัฒนาการจนเกิดสติปัญญาก่อน แล้วจึงวิวัฒนาการต่อเนื่องจนสร้างอารยะธรรมได้
        ล่าสุดในเดือนมกราคม 2558 
        นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 5 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ โดยดาวฤกษ์ดังกล่าวมีชื่อว่า HIP 94931 ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวพิณ
ขนาดของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

หากมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาบนดาวเคราะห์เหล่านั้น ก็เป็นไปได้ที่พวกมันจะวิวัฒนาการจนเกิดอารยะธรรมแล้ว 
นี่เป็นหลักฐานที่ส่องให้เห็นถึงความเป็นไปได้อันริบหรี่ที่ในอนาคต
เราอาจได้พบเพื่อนร่วมเอกภพของเราก็เป็นได้!

เรียบเรียงโดย : อาจวรงค์ จันทมาศ
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1686-hip-94931

รวมช๊อตเด็ดตลอด 5 ปีที่ผ่านมากับการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO)

       ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ได้มากกว่า 2,000 ฉบับ และจากวีดีโอจะสังเกตเห็นว่าดวงอาทิตย์จะมีสีสรรค์ที่หลากหลายเป็นเช่นนี้เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์เอสดีโอนั้นมีกล้องถ่ายภาพที่สามารถเก็บข้อมูลของดวงอาทิตย์มาในหลายช่วงความยาวคลื่น ภาพดวงอาทิตย์แต่ละสีจะบ่งบอกถึงค่าความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน นักดาราศาสตร์มีความจำเป็นจะต้องศึกษาดวงอาทิตย์ในหลายช่วงความยาวคลื่น เพราะชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในแต่ละชั้นนั้นจะปลดปล่อยพลังงานในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ดังภาพ

                      ภาพโดย : NASA/SDO/Goddard Space Flight Center
        ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่ช่วงความยาวคลื่น 4500 อังสตรอม (ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible light)) จะแสดงรายละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ในชั้นบรรยากาศชั้นแรกของดวงอาทิตย์ที่มีชื่อว่า โฟโตสเฟียร์ (Photosphere)  ในช่วงความยาวคลื่นนี้เราจะสามารถเห็นรายละเอียดและปริมาณจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot)

เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ

สำนักบริกาวิชาการฯ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1687-5-years-sdo

ภาพดวงอาทิตย์ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ

     เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา องค์การนาซาได้เปิดเผยข้อมูลการลุกจ้า (Solar flare ) ของดวงอาทิตย์ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเวลาประมาณ 18:00  น. ตามเวลาของประเทศไทย กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (Solar Dynamics Observatory : SDO) สามารถบันทึกภาพและวัดระดับความรุนแรงของการลุกจ้าดังกล่าวได้ โดยความรุนแรงของการลุกจ้าในครั้งนี้ถูกจัดระดับความรุนแรงอยู่ที่ระดับ X 2.7   นักดาราศาสตร์ยืนยันจะไม่ส่งผลโดยตรงกับสิ่งมีชีวิต ดังภาพ

                 ภาพเหตุการณ์ลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ เมื่อนวันที่  5 พฤษภาคม ที่ผ่านมาถูกบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO) ซึ่งถูกบันทึกไว้ในหลายช่วงความยาวคลื่น ได้แก่ ช่วงความยาวคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น (Visible ligth) , 171 อังสตรอม, 304 อังสตรอม, 193 อังสตรอม, และ 131 อังสตรอม  (เรียงจากซ้ายไปขวา)  ทำนักวิทยาศาสตร์ต้องการนำภาพมาเปรียบเทียบกันและวิเคราะห์หาว่ามีวัสดุอะไรออกมาจากลุกจ้าในครั้งนี้บ้าง

                                                      ภาพโดย : NASA/SDO/Wiessinger
เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ
สำนักบริกาวิชาการฯ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1747-solar-flare-nasa

ระบบสุริยะ (Solar System)

 


ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาว เคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่น ระหว่างดาวเคราะห์
โดย ทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎี ที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
กระแส พลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยาย ออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย
ดาว เคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาว ยูเรนัส และดาวเนปจูน
นับ ถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอามาคีมาคี และ อีรีส
มี ดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วย เศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก
สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้ เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน
อ้างอิง

การกำเนิดระบบสุริยะ

ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว  (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวง อาทิตย์)  เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ดังภาพที่ 1 แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิ กิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม  ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์

                                     การกำเนิดระบบสุริยะ
     วัสดุชั้นรอบนอกของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่า ยังโคจรไปตามโมเมนตัมที่มีอยู่เดิม รอบดวงอาทิตย์เป็นชั้นๆ มวลสารของแต่ละชั้นพยายามรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง ด้วยเหตุนี้ดาวเคราะห์จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นรูปทรงกลม เนื่องจากมวลสารพุ่งใส่กันจากทุกทิศทาง
            อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงทำให้วัสดุที่อยู่รอบๆ พยายามพุ่งเข้าหาดาวเคราะห์ ถ้าทิศทางของการเคลื่อนที่มีมุมลึกพอ ก็จะพุ่งชนดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์นั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมวลรวมกัน  แต่ถ้ามุมของการพุ่งชนตื้นเกินไป ก็จะทำให้แฉลบเข้าสู่วงโคจร และเกิดการรวมตัวต่างหากกลายเป็นดวงจันทร์บริวาร  ดังเราจะเห็นได้ว่า ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี จะมีดวงจันทร์บริวารหลายดวงและมีวงโคจรหลายชั้น เนื่องจากมีมวลสารมากและแรงโน้มถ่วงมหาศาล  ต่างกับดาวพุธซึ่งมีขนาดเล็กมีแรงโน้มถ่วงน้อย ไม่มีดวงจันทร์บริวารเลย  วัสดุที่อยู่โดยรอบจะพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ เพราะ มีแรงโน้มถ่วงมากกว่าเยอะ

องค์ประกอบของระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์ (The Sun)  เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงตำแหน่งศูนย์กลางของระบบสุริยะและเป็นศูนย์กลางของ แรงโน้มถ่วง ทำให้ดาวเคราะห์และบริวารทั้งหลายโคจรล้อมรอบ


     ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets)  เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก มีความหนาแน่นสูงและพื้นผิวเป็นของแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธาตุหนัก มีบรรยากาศอยู่เบาบาง ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลจากความร้อนของดวงอาทิตย์และลมสุริยะ ทำให้ธาตุเบาเสียประจุ ไม่สามารถดำรงสถานะอยู่ได้ ดาวเคราะห์ชั้นใน บางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์พื้นแข็ง “Terrestrial Planets"เนื่องจากมีพื้นผิวเป็นของแข็งคล้ายคลึงกับโลก  ดาวเคราะห์ชั้นในมี 4 ดวง คือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  และดาวอังคาร

     ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets) เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ แต่มีความหนาแน่นต่ำ เกิดจาก
การ สะสมตัวของธาตุเบาอย่างช้าๆทำนองเดียวกับการก่อตัวของก้อนหิมะ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของความร้อนและลมสุริยะจากดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย ดาวเคราะห์พวกนี้จึงมีแก่นขนาดเล็กห่อหุ้มด้วยก๊าซจำนวนมหาสาร บางครั้งเราเรียกดาวเคราะห์ประเภทนี้ว่า ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ (Gas Giants)หรือ Jovian Planets ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ชั้นนอกมี 4 ดวงคือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

     ดวงจันทร์บริวาร(Satellites)โลกมิใช่ดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีดวง จันทร์บริวารโลกมีบริวาร ชื่อว่า “ดวงจันทร์” (The Moon)  ขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีบริวารเช่นกัน เช่น ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ 4 ดวงชื่อ ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), กันนีมีด(ganymede) และคัลลิสโต (Callisto)  ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆกัน เพียงแต่ดวงจันทร์มิได้รวมตัวกับดาวเคราะห์โดยตรง แต่ก่อตัวขึ้นภายในวงโคจรของดาวเคราะห์ เราจะสังเกตได้ว่า หากมองจากด้านบนของระบบสุริยะ  จะเห็นได้ว่าทั้งดวงอาทิตย์  ดาวเคราะห์และดวงจันทร์ส่วนใหญ่  จะหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกาและโคจรรอบดวงทิตย์ในทิศทวนเข็มนาฬิกา เช่นกันหากมองจากด้านข้างของระบบสุริยะก็จะพบว่าทั้งดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์บริวาร จะอยู่ในระนาบที่ใกล้เคียงกับสุริยะวิถีมาก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากระบบสุริยะทั้งระบบ ก็กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยการยุบและหมุนตัวของจานฝุ่น

     ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets)เป็นนิยามใหม่ของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) ที่กล่าวถึง วัตถุขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลม แต่มีวงโคจรเป็นรูปรี ซ้อนทับกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และไม่อยู่ในระนาบของสุริยะวิถี ซึ่งได้แก่ ซีรีส พัลลาส พลูโต และดาวที่เพิ่งค้นพบใหม่ เช่น อีริส เซ็ดนา วารูนา เป็นต้น


(Asteroids)ดาวเคราะห์น้อย

 ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids) เกิดจากวัสดุที่ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ได้    เนื่องจากแรงรบกวนจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ดังเราจะพบว่า   ประชากรของดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่อยู่ที่ “แถบดาวเคราะห์น้อย” (Asteroid belt) ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แคระเช่น เซเรส ก็เคยจัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (เส้นผ่านศูนย์กลาง 900 กิโลเมตร) ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปรีมาก และไม่อยู่ในระนาบสุริยะวิถี ขณะนี้มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วประมาณ 3 แสนดวง


(Comets)ดาวหาง / (Kuiper Belt Objects) วัตถุในแถบไคเปอร์

ดาวหาง (Comets) เป็นวัตถุขนาดเล็กเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อยแต่มีวงจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวง ยาวรีมาก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซในสถานะของแข็ง เมื่อดางหางเคลท่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ ความร้อนขะให้มวลของมันระเบิดกลายเป็นก๊าซ ลมสุริยะเป่าให้ก๊าซเล่านั้นพุ่งออกไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ กลายเป็นหาง


วัตถุ ในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Objects) เป็นวัตถุที่หนาวเย็นเช่นเดียวกับดาวหาง แต่มีวงโคจรอยู่ถัดจากดาวเนปจูนออกไป บางครั้งจึงเรียกว่า Trans Neptune Objects ทั้งนี้แถบคุยเปอร์จะอยู่ในระนาบของสุริยะวิถี โดยมีระยะห่างออกไปตั้งแต่ 40 – 500 AU (AU ย่อมาจาก   Astronomical Unit หรือ หน่วยดาราศาสตร์ เท่ากับระยะทางระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือ 150   ล้านกิโลเมตร)   ดาวพลูโตเองก็จัดว่าเป็นวัตถุในแถบคุยเปอร์ รวมทั้งดาวเคราะห์แคระซึ่งค้นพบใหม่ เช่น อีริส เซ็ดนา วารูนา เป็นต้น ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์แล้วมากกว่า 35,000 ดวง


(Oort Cloud) ตำแหน่งของแถบไคเปอร์และเมฆออร์ท

 เมฆออร์ท(Oort Cloud) เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ แจน ออร์ท(Jan Oort)ซึ่งเชื่อว่า ณ สุดขอบของระบบสุริยะ รัศมีประมาณ 50,000 AU จากดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะของเราห่อหุ้มด้วยวัสดุก๊าซแข็ง ซึ่งหากมีแรงโน้มถ่วงจากภายนอกมกระทบกระเทือน ก๊าซแข็งเหล่านี้ก็จะหลุดเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ กลายเป็นดาวหางวงโคจรคาบยาว (Long-period comets)


                  ตำแหน่งของแถบไคเปอร์และเมฆออร์ท (ที่มา:NASA,JPL)



ข้อมูลน่ารู้

 ข้อมูลที่น่ารู้
  • ระบบสุริยะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,000 ล้านกิโลเมตร
  • 99% ของเนื้อสารทั้งหมดของระบบสุริยะ รวมอยู่ที่ดวงอาทิตย์
  • ใน ปัจจุบันถือว่า ดาวเคราะห์มี 8 ดวง  ดาวพลูโต   ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีรีส จูโน พัลลาสเวสตาและวัตถุไคเปอร์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น อีรีส เซดนา  ถูกจัดประเภทใหม่ว่าเป็น ดาวเคราะห์แคระ
  • ดาวศุกร์มีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงสุดในระบบสุริยะ (ร้อนกว่าดาวพุธ) เนื่องจากมีภาวะเรือนกระจก
  • ดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่ถูกค้นพบแล้ว มีจำนวนไม่น้อยกว่า 130 ดวง
  • นัก ดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากกว่า 300,000 ดวง  ส่วนใหญ่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย  ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มดาวเคราะห์น้อยโทรจัน  ซึ่งอยู่ร่วมวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี  และยังมีดาวเคราะห์น้อยบางดวงโคจรเข้าใกล้โลกมากกว่าดวงจันทร์
  • ดาว เคราะห์น้อยบางดวงมีดวงจันทร์บริวารด้วย เช่น ดาวเคราะห์น้อยไอดา (Ida) ขนาด 28 x 13 กิโลเมตร     มีดวงจันทร์แดคทิล (Dactyl)ขนาด 1 กม. โดยมีรัศมีวงโคจร 100 กิโลเมตร
  • ดาวพลูโตที่จัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ มีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 3 ดวง


Eclipse of the sun(สุริยุปราคา)

สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
อ้างอิง

Comet(ดาวหาง)

ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร
คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน
นับถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 มีรายงานการค้นพบดาวหางแล้ว 3,648 ดวง ในจำนวนนี้หลายร้อยดวงเป็นดาวหางคาบสั้น การค้นพบยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนที่ค้นพบแล้วเป็นแค่เศษเสี้ยวเพียงเล็กน้อยของจำนวนดาวหางทั้งหมดเท่านั้น วัตถุอวกาศที่มีลักษณะคล้ายกับดาวหางในระบบสุริยะรอบนอกอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านล้านชิ้น ดาวหางที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีปรากฏโดยเฉลี่ยอย่างน้อยปีละหนึ่งดวง ในจำนวนนี้หลายดวงมองเห็นได้เพียงจาง ๆ เท่านั้น
ดาวหางที่สว่างมากจนสามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้โดยง่ายมักเรียกว่าดาวหางใหญ่ (อังกฤษ: great comet) นอกจากนี้ยังมีดาวหางประเภทเฉียดดวงอาทิตย์ ซึ่งมักจะแตกสลายเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากๆ อันเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงมหาศาล เป็นที่มาของฝนดาวตกต่างๆ และดาวหางอีกจำนวนนับพันดวงที่มีวงโคจรไม่เสถียร
อ้างอิง

Meteor Shower(ฝนดาวตก)

ฝนดาวตก คือดาวตกหลายดวงที่เหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าในช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก
การที่สะเก็ดดาวในธารเดียวกัน เคลื่อนที่ขนานกันและมีอัตราเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็นจึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันในท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง
อ้างอิง

(The Rings of Saturn)วงแหวนของดาวเสาร์


ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีระบบวงแหวนดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มากกว่าดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น
วงแหวนของดาวเสาร์ช่วยสะท้อนแสง ทำให้มองเห็นความสว่างของดาวเสาร์เพิ่มมากขึ้น แต่เราไม่สามารถมองเห็นวงแหวนเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า ในปี ค.ศ. 1610 ซึ่งกาลิเลโอเริ่มใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสำรวจท้องฟ้า เขาเป็นกลุ่มคนยุคแรกๆ ที่พบและเฝ้าสังเกตวงแหวนของดาวเสาร์ แม้จะมองไม่เห็นลักษณะอันแท้จริงของมันได้อย่างชัดเจน ปี ค.ศ. 1655 คริสตียาน เฮยเคินส์ เป็นผู้แรกที่สามารถอธิบายลักษณะของวงแหวนว่าเป็นแผนจานวนรอบๆ ดาวเสาร์[1]
มีแถบช่องว่างระหว่างวงแหวนอยู่หลายช่อง ในจำนวนนี้มีอยู่ 2 แถบที่มีดวงจันทร์แทรกอยู่ ช่องอื่นๆ อีกหลายช่องอยู่ในตำแหน่งการสั่นพ้องของวงโคจรกับดวงจันทร์ของดาวเสาร์ และยังมีอีกหลายช่องที่ยังหาคำอธิบายไม่ได้
อ้างอิง

(Jupiter's Red Spot)จุดแดงยักษ์บนดาวพฤหัส

   จุดแดงใหญ่ คือพายุหมุนขนาดใหญ่บนดาวพฤหัสบดี ซึ่งปรากฏบริเวณซีกใต้ของดาว เป็นจุดสังเกตอันเด่นชัดของดาวเคราะห์นี้ ซึ่งถูกเฝ้าสังเกตมานานกว่าสามร้อยปีแล้ว พายุนี้หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา รอบการหมุนประมาณ 6 วันของโลก หรือ 14 วันของดาวพฤหัสบดี มีขนาดวัดจากตะวันตก-ตะวันออก 24-40,000 กิโลเมตร และวัดจากใต้-เหนือ 12-14,000 กิโลเมตร ขนาดของพายุนี้ใหญ่มากจนสามารถบรรจุดาวเคราะห์ที่ใหญ่ขนาดโลกได้ถึง 2-3 ดวง สีของพายุที่เกิดบนดาวพฤหัสบดีนั้น ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพายุที่เกิดขึ้นบนดวงดาว ถ้าระดับต่ำจะเห็นเป็นสีน้ำเงิน สูงขึ้นมาจะเป็นสีส้มเข้ม สีขาวและสูงที่สุดจะเป็นสีแดง
  อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88


(Valles Marineris, Mars)หุบเขามารินาริส บนดาวอังคาร

     ไม่ว่านักเดินทางหรือนักปีนเขาจะเก่งกล้าเพียงใดก็คงต้องออกอาการยอมแพ้ตั้งแต่ครั้งแรกไปถึงหุบเขามารินเนอร์บนดาวอังคาร ในรูปนี้แสดงถึงนักสำรวจยืนอยู่บนหุบเขา จะเห็นมีหมอกของน้ำแข็งสีขาวอยู่จางๆ อยู่เบื่องล่าง แสงสีส้มที่ขอบฟ้าด้านหลังของหุบเขาแสดงถึงดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นมาจากหุบเขาฝั่งนั้น หุบเขาแห่งนี้มีความลึกและความกว้างเป็นที่สุดของระบบสุริยะ หากคุณยืนอยู่บนหุบเขาแล้วมองลงไปคุณต้องรู้สึกใจหายในคว่ำทันที เพราะพื้นเบื่องล่างของหุบเขาอยู่ลึกจากเท้าลงไปประมาณ 6.44 กิโลเมตร และเมื่อคุณมองไปข้างหน้า คุณอาจต้องเครียด เพราะอีกฝั่งของหุบเขาอยู่ไกลออกไปถึง 1 ใน 4 ของระยะทางรอบโลก ถึงขนาดที่ หากมีนักเดินทางอีกคนยืนอยู่อีกฝากหนึ่งของมารินเนอร์ นักเดินทางคนนั้นจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนคุณถึง 6 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่ากาลครั้งหนึ่งในอดีต คงจะเคยมีน้ำอยู่ระหว่างหุบเขานี้ หรือ อาจเป็นมหาสมุทรบนดาวอังคารเลยก็ว่าได้
   อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/varticle/44013

(The Geysers of Enceladus)น้ำพุเกร็ดน้ำแข็งบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส

      เอนเซลาดัสคือหนึ่งในดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ ผิวของเอนเซลาดัสถือเป็นทุ่งน้ำแข็งที่อันตรายที่สุด หากคุณได้ลงไปเดินบนทุ่งน้ำแข็งแห่งนี้ สิ่งเดียวที่เป็นลางบอกภัยคือแรงสันสะเทือนที่ถ่ายทอดจากพื้นสู่ตัวคุณ ทันใดนั้นพื้นน้ำแข็งก็ปริแตกแล้วพ่นเกร็ดน้ำแข็งจำนวนมากขึ้นสู่อวกาศด้วยความเร็วสูงถึง 1,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเอนเซลาดัสมีขนาดเล็ก มีแรงโน้มถ่วงที่ผิวไม่เกิน 1 ใน 100 ของแรงดึงดูดโลก ดวงจันทร์นี้จึงไม่มีบรรยากาศ ทำให้ไม่มีเสียง อันตรายจากน้ำพุเกร็ดน้ำแข็งนี้จึงเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะท่องทุ่งน้ำแข็งคือ ให้ผูกตัวคุณเองไว้กับเครื่องช่วยกระโดด (jetpack) และเดินอย่างระมัดระวัง หากเห็นท่าไม่ดีให้รีบเปิดเครื่องช่วยกระโดดแล้วกระโดดหนีทันที รูปที่เห็นคือน้ำพุเกร็ดน้ำแข็งที่สะท้อนกับแสงจากดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าน้ำพุเกร็ดน้ำแข็งคือหลักฐานบ่งชี้ว่ามีน้ำเหลวอยู่ใต้ดวงจันทร์เอนเซลาดัส เมื่อน้ำได้รับความร้อนใต้พิภพจะทำให้น้ำกลายเป็นไอแล้วพุ่งสู่เบื่องบนด้วยความเร็วสูง เมื่อไอน้ำเหล่านั้นได้รับความเย็นที่ผิวของเอนเซลาดัส จึงแข็งตัวกลายเป็นเกร็ดน้ำแข็ง จึงเกิดเป็นน้ำพุเกร็ดน้ำแข็งดังที่แสดงในรูป
   อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/varticle/44013

(The Geysers of Triton)น้ำพุเย็นจัดบนดวงจันทร์ไทรทัน

    ไทรทันคือดวงจันทร์บริวารดวงที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน (ดาวดวงสีน้ำเงินด้านหลัง ในรูป) พื้นผิวถูกปกคลุมไปด้วยมีเทนและไนโตรเจน อีกทั้งมีอุณหภูมิต่ำถึง -200 องศาเซลเซียส บนดวงจันทร์ดวงนี้มีน้ำพุที่ทรงพลังและอันตรายอยู่เช่นเดียวกับเอนเซลาดัส เพียงแต่น้ำพุของดวงจันทร์ดวงนี้ไม่ใช่เกิดจากการพวยพุ่งของน้ำ แต่เป็นการพวยพุ่งของสารประกอบไนโตรเจนรวมทั้งมีเทนที่เย็นจัด การพุจะมีลักษณะเหมือนควันพุ่งออกจากผิวของดวงจันทร์ มีความสูงมากกว่า 8 กิโลเมตร ยอดของน้ำพุจะถูกลมบนพัดกระจายเป็นทางยาว เนื่องจากความสูงและการกระจายตัวของน้ำพุ ทำให้เราสามารถเห็นน้ำพุนี้ได้แม้จะอยู่ในอวกาศ
  อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/varticle/44013

(Peaks of Eternal Light)ยอดเขาแห่งแสงนิรันดร์

   สิ่งมหัศจรรย์นี้อยู่ไม่ไกลจากโลกมากนัก มันอยู่บนดวงจันทร์ของเราเอง ที่แนวเขาทางตอนเหนือของดวงจันทร์ มีบริเวณอยู่บริเวณหนึ่งที่ถูกแสงอาทิตย์ส่องตลอดเวลาและตลอดกาล หรือพูดอีกอย่างคือ ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกหากมองจากบริเวณนี้ ยอดเขาแห่งแสงนิรันดร์ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2537 และเป็นเพียงที่แห่งเดียวในระบบสุริยะที่มีแสงส่องตลอดกาล สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ดวงจันทร์จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยหนาวเย็น แต่ที่ยอดเขาแห่งแสงนิรันดร์กลับมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ 20 องศาเซลเซียส จึงเป็นบริเวณที่เหมาะมากสำหรับตั้งรกรากบนดวงจันทร์ ข้อดีอีกอย่างคือจะมีพลังงานแสงอาทิตย์ให้เก็บเกี่ยวผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา ไม่แน่ว่าที่แห่งนี้ยังอาจจะมีน้ำเหลวเป็นของแถมอีกด้วย 
  อ้างอิง 
http://www.vcharkarn.com/varticle/44013

(Herschel Crater on Mimas)หลุมอุกกาบาตเฮอร์เชลบนดวงจันทร์ไมมาส

      หากใครเคยดู Starwars ครบทั้ง 6 ภาพ คงต้องรู้จักอาวุธทรงอานุภาพอย่าง Death Star แน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่ารูปร่างของ Death Star ถูกออกแบบจากสิ่งมหัศจรรย์นี้ นี่คือภาพของหลุมอุกกาบาตเฮอร์เชล (Herschel) บนดวงจันทร์ไมมาสบริวารอีกดวงหนึ่งของดาวเสาร์ ใจกลางของหลุมอุกกาบาตเฮเตอร์มีภูเขาอยู่สูงจากบริเวณรอบราว 6 กิโลเมตร และถูกล้อมไปด้วยปากหลุม ซึ่งเป็นกำแพงของภูเขาสูง 5 กิโลเมตร หลุมอุกกาบาตนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากถึง 139 กิโลเมตร จัดเป็นหลุมอุกกาบาติที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในระบบสุริยะ หลุมนี้จะมองเห็นได้ชัดเจนจากอวกาศจนเหมือนกับดวงจันทร์นี้มีตาขนาดใหญ่ 1 ดวง ซึ่งก็คือต้นแบบของปากกระบอกปืน Super Laser ของ Death Star นั้นเอง นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่าหลุมอุกกาบาตนี้น่าจะเกิดจากไมมาสถูกชนครั้งใหญ่ด้วยอุกกาบาตขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของไมมาส ซึ่งก็ทำให้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็แปลกใจว่าดวงจันทร์ไมมาสรอดจากการแตกสลายอันเนื่องจากการชนครั้งใหญ่นี้ได้อย่างไร
   อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/varticle/44013

(Sunrise on Mercury)พระอาทิตย์ขึ้นบนดาวพุธ

    1 วันบนโลกของเราจะมีดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเพียงอย่างละครั้งเดียว แต่สำหรับดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์บนดาวพุธมีความน่าตื่นตาตื่นใจและน่าจดจำยิ่งกว่า เทียบกับโลกแล้วดวงอาทิตย์ขึ้นและตกวันละสองครั้งครึ่ง กล่าวคือ 1 วันบนดาวพุธ ตอนรุ่งอรุณดวงอาทิตย์จะขึ้นที่ขอบฟ้า แล้วเคลื่อนข้ามท้องฟ้าเหมือนปกติ ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังตกไปยังขอบฟ้าอีกด้านหนึ่ง ทันใดนั้นดวงอาทิตย์ก็หยุด แล้วเคลื่อนที้ย้อนกลับไปสู่ขอบฟ้าด้านที่มันขึ้นในตอนเช้า หลังจากนั้นดวงอาทิตย์ก็หยุดอีกครั้งแล้วเคลื่อนย้อนกลับที่ไปสู่ขอบฟ้าด้านตรงข้าม (ตรงข้ามกับด้านที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า) อีกครั้ง แล้วจึงตก ทำให้ใน 1 วัน ดาวพุธมีดวงอาทิตย์ขึ้นสองครั้งและตกสองครั้ง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเวลาในการหมุนรอบตัวเองและเวลาในการหมุนรอบดวงอาทิตย์มีความใกล้เคียงกัน (3 วันบนดาวพุธ นานเท่ากับ 2 ปีของดาวพุธเอง) และความรีของวงโคจรดาวพุธก็มีผลทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้เช่นกัน
   อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/varticle/44013

ลักษณะเด่นดาวเคราะห์ทั้ง 9

    ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์นั้นมีลักษณะรูปร่าง องค์ประกอบ และขนาดที่ผิดแผกแตกต่างกันไป ตั้งแต่ดาวเคราะห์ขนาดเล็กไปจนกระทั่งดาวก๊าซขนาดมหึม นอกจากนั้นแล้วดาวเคราะห์ครอบครัวของดวงอาทิตย์เหล่านี้บางดวงยังมีลักษณะบางอย่างเด่นมากๆที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่มีอีกด้วย

  •  ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวงอันดับ 10 อุณภูมิสูงที่สุด
     ดาวศุกร์ แม้ว่าดาวศุกร์จะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สองต่อจาก ดาวพุธก็ตาม ทว่า บรรยากาศที่หนาแน่นและก๊าซพิษซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนก๊าซเรือนกระจกเช่น เดี่ยวกับก๊าซที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของโลกดักจับความร้อนเอาไว้ปรากฎการณ์นี้ทำให้อุณหภูมิของดาวศุกร์สูงถึง 870 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 465 องศาเซลเซียส ร้อนมากพอที่จะละลายตะกั่วได้

  • ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวง อันดับ 9 อุณหภูมิแตกต่างกันสุดสุด
     ดาวพุธ ด้วยระยะทางที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวง อุณหภูมิของดาวพุธในเวลากลางวันอาจจะสูงถึง 840 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 450 องศาเซลเซียสแต่ว่าดาวพุธมีบรรยากาศไม่มากพอที่จะดักจับความร้อนไว้ เหมือนดาวศุกร์ดังนั้นอุณหภูมิในเวลากลางคืนจึงดึ่งลงไปถึง -275 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ -170 องศาเซลเซียสไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า 1,100 องศาฟาเรนไฮท์

  •   ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวง อันดับ 8 กาะแสลมเร็วสุด
ดาวเนปจูน ดาวเนปจูนมีกระแสลมที่ความเร็วมากว่า 1,500 ไมล์ต่อชั่วโมงปรากฎการ์นี้ยังคงเป็นปริศนาว่าดาวเนปจูนได้รับพลังงานที่ทำ ให้เกิดกระแสลมที่เร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวงได้อย่างไร ทั้งๆที่มันอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากและบางครั้งไกลกว่าดาวเคราะห์แคระพลูโตด้วยซ้ำไปและยังมีความร้อนภายในค่อนข้างน้อยอีกด้วย

  •  ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวง อันดับ 7 ดาวเคราะป์เอียงข้าง
มันไม่เหมือนดาวเคราะห์ไดๆเลย ดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเองในลักษณะตะแคงข้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะแกนของมันเอียง นักดาราศาสตร์เชื่อว่าลักษณะที่ผิดปกตินี้เกิดขึ้นจากการถูกชนโดยดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกหลังจากดาวยูเรนัสก่อกำเนิดได้ไม่นานนัก

  • ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวง อันดับ 6 ภูมิประเทศสูงลิบลิ่วและลึกที่สุด
     ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ดวงนี้มีภูเขาสูงที่สุดและหุบเหว (valley) ที่ลึกและยาวที่สุดในระบบสุริยะภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) มีความสูงประมาณ 17 ไมล์ หรือ 27 กิโลเมตร สูงประมาณ 3 เท่าของภูเขาเอเวอร์เรสต์บนโลกเรา หุบ เหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความลึกถึง 5-6 ไมล์ หรือ 8-10 กิโลเมตรในบางพื้นที่ และยาว 2,500 ไมล์ หรือ 4,000 กิโลเมตร เกือบเท่าความกว้างของออสเตเลียเลยทีเดียว

  • ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวงอันดับ 5 วงแหวนมหึมา
     ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่สวยทีสุดในระบบสุริยะเพราะวงแหวนที่สวยงามของมัน แต่วงแหวนใหม่ที่ค้นพบล่าสุดเมื่อปี 2009 นั้นไกลเกินกว่านักดาราศาสตร์จะจินตนาการได้
 วงแหวนใหม่นี้มืด มัวเกินกว่าที่จะเห็นจากโลก มันมีขนาดใหญ่กว่าดาวเสาร์ถึง 200 เท่า กว้างขนาดบรรจุดาวเคราะห์โลกได้นับล้านดวงเลยทีเดียว

  • ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวง อันดับ 4 พายุฝุ่นขนาดใหญ่ที่สุด
 
     ดาวอังคาร เป็นพายุฝุ่นขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะครอบคลุมพื้นที่ดาวอังคารได้ทั้งดวงและกินเวลานานหลายเดือน ทฤษฎี หนึ่งอธิบายสาเหตุว่าเป็นเพราะอนุภาคฝุ่นในอากาศดูดกลืนแสงอาทิตย์บรรยากาศ บริเวณใกล้เคียงจึงร้อนขึ้น จากนั้นอากาศที่ร้อนได้ไหลไปยังบริเวณที่เย็นกว่าทำให้เกิดกระแสลมพัดพาฝุ่น บนพื้นผิวขึ้นสู่อากาศทำให้อากาศร้อนขึ้นไปอีก
 ปรากฎการณ์นี้ยิ่งทำให้เกิดแระแสลมมากขึ้นและพัดฝุ่นขึ้นสู่อากาศมากขึ้นด้วย

  • ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวงอันดับ 3 ดาวเสาร์รูปทรงเหลี่ยม
ยานแคสสินีค้นพบปรากฎการณ์บน ดาวเสาร์ ที่น่าตื่นตะลึง นั่นคือรูปทรงหกเหลี่ยมของดาวเสาร์ (Hexagon Shape) กว้างขนาดเท่ากับโลกสองดวงนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันน่าจะเกิดจากเส้นทางของกระแสลมกรด (Jet Stream)

  • ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวงอันดับ 2 จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี
ลักษณะภูมิประเทศที่เด่นที่สุดบน ดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ (The Great Red Spot) รูปไข่สีแดง มันคือพายุขนาดใหญ่ที่เห็นมานานกว่า 300 ปีแล้ว พายุนี้มีขนาดใหญ่ประมาณสามเท่าของโลก

  •  ลักษณะเด่น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวง อันดับ 1 อากาศบนโลก
โลก มีมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยน้ำ ดาวเคราะห์ที่คล้ายโลกมากที่สุดคือดาวอังคารครั้งหนึ่งก็เคยมีมหาสมุทรหรือ ทะเล แต่สิ่งที่ดาวอังคารและดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่มีอย่างโลกนั่นคือ ก๊าซออกซิเจนจำนวนมากในชั้นบรรยากาศ

นี่คือลักษณะที่เด่นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทุกดวง

Mercury (ดาวพุธ)


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ  เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน

อ้างอิง

Venus(ดาวศุกร์)


ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 (ฉบับแก้ไข ลำดับที่ 4 และ ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ตามทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส และ ทฤษฎีของเคปเลอร์) ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
อ้างอิง

Earth(โลก)

โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก
ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ โลกที่เป็นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด และโลกในแบบภววิทยา ในทางเทววิทยา โลก หมายถึง โลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพจิตวิญญาณ อุตรภาพ หรือศักดิ์สิทธิ์ คำว่า "โลกาวินาศ" หมายถึง สภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบในศาสนาต่าง ๆ
ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจนปัจจุบัน
ประชากรโลก หมายถึง จำนวนรวมประชากรมนุษย์ทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ และเช่นเดียวกันคำว่าเศรษฐกิจโลกก็หมายถึง สภาพเศรษฐกิจของสังคมทั้งหมดทุกประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของโลกาภิวัตน์
คำว่าโลกใน ศาสนาโลก ภาษาโลก และสงครามโลก เน้นถึงขอบข่ายระหว่างประเทศหรือระหว่างทวีป โดยไม่ได้หมายความว่าเกี่ยวกับโลกโดยรวมทั้งหมด
ส่วนคำว่าโลกในแผนที่โลก ภูมิอากาศโลก มิได้หมายถึงโลกในเชิงวัฒนธรรมหรืออารยธรรมมนุษย์ แต่หมายถึงดาวเคราะห์โลก
อ้างอิง

Mars(ดาวอังคาร)

ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) ชื่อจีน เป็น 火星 ความหมายว่าดาวไฟเพราะสีส้มของมัน สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตยสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ระหว่าง -2.0 – 2.0 มีเพียงแค่ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่สว่างกว่า (ดาวพฤหัสในบางครั้ง)
อ้างอิง

Jupiter(ดาวพฤหัสบดี)

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ  เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ,ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน
อ้างอิง

Saturn(ดาวเสาร์)

ดาวเสาร์ (อังกฤษ: Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
อ้างอิง