นาซ่าพบการลุกจ้าระดับ X100,000 บนดาวฤกษ์ DG CVn

       องค์การนาซ่า (NASA) พบการลุกจ้าอย่างรุนแรง (superflare) บนดาวฤกษ์ที่เป็นสมาชิกหนึ่งในระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด (close binary system) ที่เรารู้จักกันในชื่อ DG Canum Venaticorum (DG CVn) โดยเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดง (red dwarf star) ดาวคู่ทั้งสองดวง มีมวลและขนาดเพียง 1 ใน 3 ของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกเราในระยะทางประมาณ 60 ปีแสง ตรวจพบได้โดยดาวเทียม Swift ขององค์การนาซ่า
ภาพที่ 1 แสดงภาพการลุกจ้าอย่างรุนแรง (superflare) บนดาว DG CVn
Credit: NASA's Goddard Space Flight Center/S. Wiessinger
   การลุกจ้าอย่างรุนแรงนี้มีมากถึง 10,000 ครั้ง และจากจำนวนการลุกจ้าทั้งหมดมี 12 ครั้ง ได้ปลดปล่อยออกจากบริเวณใจกลางของดาวฤกษ์ และมีอุณหภูมิขณะการลุกจ้าถึง 200 ล้านองศาเซลเซียส 
        จากข้อมูลที่ได้โดยดาวเทียม SWift นักดาราศาสตร์สามารถวัดการลุกจ้าอย่างรุนแรง (“superflare") เทียบได้เท่ากับระยะทางเฉลี่ยของวงโคจรของโลกเลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย นายบุญญฤทธิ์ ชุนหกิจ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

นาซาเผยภาพดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จากมุมมองของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO)

     จากมุมมองของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ แสดงให้เห็นขอบของดวงจันทร์ที่คมชัดมาก รวมถึงสามารถเห็นภูเขาบนดวงจันทร์ได้ เป็นเช่นนี้้เนื่องจากดวงจันทร์นั้นมีชั้นบรรยากาศที่บางมากๆ แสงจากดวงอาทิตย์ที่เดินทางไปตกกระทบพื้นผิวดวงจันทร์นั้นเกิดการหักเหน้อยมากๆ รวมถึงตำแหน่งการสังเกตการณ์ในที่นี้เป็นมุมมองจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ ซึ่งโคจรอยู่เหนือพื้นผิวโลกประมาณ 35,880 กิโลเมตร แตกต่างจากการสังเกตการณ์บนพื้นโลกที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบจากชั้นบรรยากาศของโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ภาพดวงจันทร์ที่ได้มีความคมชัดน้อยกว่า


 ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2557 ในช่วงความยาวคลื่น 171 อังสตรอม ดังภาพ
 ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 ในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ดังภาพ
 ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2557 ในช่วงความยาวคลื่น 304 อังสตรอม (ขวา) 171 อังสตรอม (กลาง) และ ภาพที่ได้จากการรวมภาพทั้งสองความยาวคลื่นด้วยกัน (ซ้าย)
ภาพถ่ายดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 ในช่วงความยาวคลื่น 304 อังสตรอม
เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ภาพดวงอาทิตย์จากกล้องโทรทรรศน์นิวสตาร์

     กล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ (NUSTAR : Nuclear Spectroscopic Telescope Array) ขององค์การนาซา ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในช่วงความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์  และช่วงอัลตราไวโอเลตที่ได้จากการบันทึกภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ (NUSTAR : Nuclear Spectroscopic Telescope Array)เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO: Solar Dynamic Observatory) ภาพจาก: NASA/JPL-Caltech/GSFC

     จากภาพจะสังเกตุเห็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์มีลักษณะสีสันที่สวยงาม โดยบริเวณที่เป็นสีแดงอิฐนั้นคือชุดภาพถ่ายที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ ถูกบันทึกภาพในช่วงความยาวคลื่นอัลตราไวโอเลต (171 อังสตรอม) แสดงให้เห็นองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ที่มีอุณภูมิต่ำกว่า 1,000,000 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณที่เป็นสีเขียวและสีฟ้าเป็นข้อมูลภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ที่ถูกบันทึกในช่วงรังสีเอ็กซ์ บริเวณที่เป็นสีเขียวนั้นจะมีพลังงานอยู่ในช่วง 2 - 3 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ส่วนบริเวณสีฟ้าจะมีพลังงานอยู่ในช่วง 3 - 5 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งเป็นรังสีเอ็กซ์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากบริเวณบ่วงโคโรนา (Coronal loops) ที่มีอุณหภูมิสูงประมาณ 3,000,000 องศาเซลเซียส

เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดาวเคราะห์โบราณ : แสงริบหรี่ของแหล่งอาระธรรมนอกโลก

ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
นักวิทยาศาสตร์แบ่งการมีอยู่ของชีวิตออกเป็นหลายระดับ โดยเริ่มจาก  
1.มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น  
2.สิ่งมีชีวิตนั้นวิวัฒนาการจนมีร่างกายที่ซับซ้อนพอจะเกิดสติปัญญา  
3.สิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญานั้นสามารถสร้างอารยะธรรมและเทคโนโลยีได้

 สาเหตุที่แบ่งออกเป็นสามช่วงก็เพราะทั้งสามช่วงนั้นมีความแตกต่างกันและส่งผลต่อวิธีคิดในการค้นหา
กล่าวโดยสรุปคืออารยะธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากที่สุดเพราะอย่างน้อยๆสิ่งมีชีวิตต้องวิวัฒนาการจนเกิดสติปัญญาก่อน แล้วจึงวิวัฒนาการต่อเนื่องจนสร้างอารยะธรรมได้
        ล่าสุดในเดือนมกราคม 2558 
        นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 5 ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ โดยดาวฤกษ์ดังกล่าวมีชื่อว่า HIP 94931 ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวพิณ
ขนาดของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวงเปรียบเทียบกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

หากมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาบนดาวเคราะห์เหล่านั้น ก็เป็นไปได้ที่พวกมันจะวิวัฒนาการจนเกิดอารยะธรรมแล้ว 
นี่เป็นหลักฐานที่ส่องให้เห็นถึงความเป็นไปได้อันริบหรี่ที่ในอนาคต
เราอาจได้พบเพื่อนร่วมเอกภพของเราก็เป็นได้!

เรียบเรียงโดย : อาจวรงค์ จันทมาศ
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1686-hip-94931

รวมช๊อตเด็ดตลอด 5 ปีที่ผ่านมากับการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO)

       ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลและตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ได้มากกว่า 2,000 ฉบับ และจากวีดีโอจะสังเกตเห็นว่าดวงอาทิตย์จะมีสีสรรค์ที่หลากหลายเป็นเช่นนี้เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์เอสดีโอนั้นมีกล้องถ่ายภาพที่สามารถเก็บข้อมูลของดวงอาทิตย์มาในหลายช่วงความยาวคลื่น ภาพดวงอาทิตย์แต่ละสีจะบ่งบอกถึงค่าความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน นักดาราศาสตร์มีความจำเป็นจะต้องศึกษาดวงอาทิตย์ในหลายช่วงความยาวคลื่น เพราะชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในแต่ละชั้นนั้นจะปลดปล่อยพลังงานในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ดังภาพ

                      ภาพโดย : NASA/SDO/Goddard Space Flight Center
        ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ที่ช่วงความยาวคลื่น 4500 อังสตรอม (ช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible light)) จะแสดงรายละเอียดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ในชั้นบรรยากาศชั้นแรกของดวงอาทิตย์ที่มีชื่อว่า โฟโตสเฟียร์ (Photosphere)  ในช่วงความยาวคลื่นนี้เราจะสามารถเห็นรายละเอียดและปริมาณจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot)

เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ

สำนักบริกาวิชาการฯ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1687-5-years-sdo

ภาพดวงอาทิตย์ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ

     เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา องค์การนาซาได้เปิดเผยข้อมูลการลุกจ้า (Solar flare ) ของดวงอาทิตย์ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเวลาประมาณ 18:00  น. ตามเวลาของประเทศไทย กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (Solar Dynamics Observatory : SDO) สามารถบันทึกภาพและวัดระดับความรุนแรงของการลุกจ้าดังกล่าวได้ โดยความรุนแรงของการลุกจ้าในครั้งนี้ถูกจัดระดับความรุนแรงอยู่ที่ระดับ X 2.7   นักดาราศาสตร์ยืนยันจะไม่ส่งผลโดยตรงกับสิ่งมีชีวิต ดังภาพ

                 ภาพเหตุการณ์ลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ เมื่อนวันที่  5 พฤษภาคม ที่ผ่านมาถูกบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (SDO) ซึ่งถูกบันทึกไว้ในหลายช่วงความยาวคลื่น ได้แก่ ช่วงความยาวคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น (Visible ligth) , 171 อังสตรอม, 304 อังสตรอม, 193 อังสตรอม, และ 131 อังสตรอม  (เรียงจากซ้ายไปขวา)  ทำนักวิทยาศาสตร์ต้องการนำภาพมาเปรียบเทียบกันและวิเคราะห์หาว่ามีวัสดุอะไรออกมาจากลุกจ้าในครั้งนี้บ้าง

                                                      ภาพโดย : NASA/SDO/Wiessinger
เรียบเรียงโดย : ธีรยุทธ์  ลอยลิบ
สำนักบริกาวิชาการฯ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1747-solar-flare-nasa

ระบบสุริยะ (Solar System)

 


ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาว เคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่น ระหว่างดาวเคราะห์
โดย ทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎี ที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
กระแส พลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยาย ออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย
ดาว เคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาว ยูเรนัส และดาวเนปจูน
นับ ถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอามาคีมาคี และ อีรีส
มี ดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วย เศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก
สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้ เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน
อ้างอิง